วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การศึกษาผลจากการเผาตอซังข้าว

การศึกษาผลจากการเผาตอซังข้าวที่มีต่อสมบัติของดินและสิ่งมีชีวิตในดิน
ในตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

คณะผู้วิจัย : 1.นางสาวดารารัตน์ วงษา 2. นางสาวดารณี หินเมืองเก่า
3.นางสาวสินีนาฎ พีรจรูญรุ่งเรือง
ระดับชั้น : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
อาจารย์ที่ปรึกษา : นางสุรางค์รัตน์ ป้อมสุวรรณ และ นางศศิธร สิทธิ
โรงเรียน : โรงเรียนภูเขียว อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
นักวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.สมพงษ์ ธรรมถาวร และ นายภัทราวุธ พุสิงห์
บทคัดย่อ
จากการศึกษาผลจากการเผาตอซังข้าวที่มีต่อสมบัติของดินและสิ่งมีชีวิตในดิน ในตำบล
ผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้ทำการศึกษาสมบัติของดินทางกายภาพ ได้แก่ ความชื้นใน
ดิน ความหนาแน่นของดิน ศึกษาสมบัติทางเคมี ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารหลักในดินคือ ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P) , โพแทสเซียม (K) ความเป็นกรด-เบส บริเวณที่มีการเผาตอ ซังข้าวและไม่เผาตอซังข้าว และศึกษาชนิดและจำนวนของสิ่งมีชีวิตในดิน บริเวณที่มีการเผาตอซังข้าวและไม่เผาตอซังข้าวโดยวิเคราะห์ตามวิธีของ GLOBE เริ่มดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ตั้งแต่ปเดือนมีนาคม - พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ผลการศึกษาสมบัติของดินและสิ่งมีชีวิตในดินพบว่า บริเวณที่ไม่มีการเผาตอซังข้าว มีความชื้นในดินเฉลี่ย 0.056 ความหนาแน่นของดิน เฉลี่ย 12.90(g/cm3) ปริมาณธาตุอาหารหลักในดินคือ ไนโตรเจน (N) สูง , ฟอสฟอรัส (P)สูง , โพแทสเซียม (K)สูงมาก
ความเป็นกรด-เบส 5.5 สิ่งมีชีวิตที่พบได้แก่ มด แมงปอ ไส้เดือนและด้วง และบริเวณที่มีการเผาตอซังข้าวมีความชื้นในดินเฉลี่ย 0.008 ความหนาแน่นของดิน เฉลี่ย 24.45(g/cm3) ปริมาณธาตุอาหารหลักในดินคือ ไนโตรเจน (N) ต่ำ , ฟอสฟอรัส (P)ต่ำ , โพแทสเซียม (K)ต่ำ และไม่พบสิ่งมีชีวิตในบริเวณนี้
เมื่อเปรียบเทียบผลจากการศึกษาพบว่า ความชื้นในดินบริเวณที่ไม่เผาตอซังข้าวจะสูงกว่าบริเวณที่มีการเผาตอซังข้าว ความหนาแน่นของดินบริเวณที่ไม่มีการเผาต่อซังข้าวจะน้อยกว่าความหนาแน่นของดินบริเวณที่ไม่มีการเผา ปริมาณสารอาหารในดินของบริเวณที่ไม่มีการเผาตอซังข้าวจะมีสูงกว่าบริเวณที่มีการเผาตอซังข้าว และบริเวณที่ไม่มีการเผาตอซังข้าวพบสิ่งมีชีวิตในดินแต่ในบริเวณดินที่มีการเผาตอซังข้าวไม่พบสิ่งมีชีวิตใดเลย
ผลจากการศึกษาพบว่าการเผาตอซังข้าวส่งผลกระทบต่อ สมบัติทางเคมี สมบัติทางกายภาพของดิน และสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งได้เป็นไปตามสมติฐานที่ตั้งไว้

การศึกษาสมบัติทางกายภาพของน้ำ บริเวณหนองสามหมื่น ตำบลบ้านแก้ง

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวัดคุณภาพน้ำหาปริมาณออกซิเจนในน้ำ ในบริเวณหนองสามหมื่น อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยวิธี ได้ทำการวิเคราะห์น้ำทางด้านกายภาพ เช่น สี กลิ่น ความใส ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำและ การวิเคราห์ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ได้แก่
การ หาค่าDO ( Dissolved Oxygen) ความนำไฟฟ้า (Conductivity) ตามวิธีการของGlobeได้ทำการตรวจสอบระหว่าง สิงหาคม 2552 – ตุลาคม 2552 โดยทดสอบ 3 จุด จากผลการทดลองพบว่า น้ำที่บริเวณหนองสามหมื่น มีค่า DO เท่ากับ 4 m/l คุณภาพน้ำดี สามารถนำไปใช้ในการอุปโภค บริโภค และ ใช้ในการเกษตรได้