วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

วิจัย

รายงานวิจัย
เรื่อง การศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม
ลำน้ำพรมกับการเกษตรกรรมของชุมชนบ้านพรมใต้
อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ

คณะผู้วิจัย
1. เด็กหญิงปิยะนุช สีน้ำย้อม
2. เด็กหญิงวรัญญา แก้วมาตย์
3. เด็กหญิงวรัญญา สิทธิไพบูลย์
4. เด็กหญิงดารารัตน์ วงษา
5. เด็กชายถิรภัทร จันทรมณี


ครูที่ปรึกษา
นางศศิธร สิทธิ
นางสุรางค์รัตน์ ป้อมสุวรรณ
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมลำน้ำพรมกับการเกษตรกรรมของุมชนบ้านพรมใต้ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพของน้ำ ลักษณะทางกายภาพและโครงสร้างของดิน และ ปริมาณยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าที่ตกค้างในดิน และพืชผักบริเวณริมสองฝากฝั่งลำน้ำพรม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ก่อนฝนตก ค่าความโปร่งใส ค่า pH และค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ มีคุณภาพดีกว่าหลังฝนตก สำหรับอุณหภูมิของน้ำ เนื่องจากช่วงก่อนฝนตก คณะผู้วิจัยทำการศึกษาในฤดูร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงกว่าหลังฝนตก ซึ่งทำการศึกษาในช่วงฤดูฝน
2. ลักษณะทางกายภาพของดิน โครงสร้างของดินเป็นแบบก้อน ,สีของดินมีค่า 7.2 R เข้ม, การยึดตัวของดินแน่น, เนื้อดินเป็นดินเหนียว ธาตุอาหารในดินมีค่าต่ำ ,ค่าความเป็นกรด – ด่างมีค่า เฉลี่ย 6.62 ซึ่งถือว่ามีความเป็นกรดเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยของดิน 30.77 องศาเซลเซียส
3. การตรวจวัดปริมาณสารพิษในดินและพืชผัก ทั้งก่อนและหลังฝนตกพบว่า มีสารพิษแต่ไม่เป็นอันตราย คณะผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ทำการตรวจสอบมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน ลักษณะทางกายภาพของดินอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับพืชผัก คณะผู้วิจัยได้นำพืชผักไปตรวจสอบ พบว่า มีสารเคมีปนเปื้อนแต่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภค แต้ถ้าบริโภคมากๆ สารเคมีก็จะสะสมในร่างกายทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
สำหรับการวิจัยในครั้งนี้คณะผู้วิจัย พบว่า ลักษณะทางกายภาพของน้ำ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบลำน้ำพรม อยู่ในค่ามาตรฐาน เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำที่จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตและการเกษตรกรรมของชาวบ้านที่อาศัยในละแวกนี้

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การกักเก็บและการปลดปล่อยคาร์บอน( Carbon Sequestration and Emission) ของหูกวาง

การกักเก็บและการปลดปล่อยคาร์บอน( Carbon Sequestration and Emission) ของหูกวาง บริเวณโรงเรียนภูเขียว
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอนไว้ในอินทรียวัตถุบริเวณใต้ต้นหูกวาง และการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากใบหูกวาง และดินบริเวณต้นหูกวาง โดยวิธี Static Chamber ของหูกวาง ในเดือนสิงหาคม 2551 จากผลการทดลองพบว่า ดินใต้ต้นหูกวาง มีเนื้อดินเป็นดินร่วน มีโครงสร้างแบบ Granular ผลการเทียบสีของดินได้เป็นค่าเป็น 7.5YR2.5/3 และดินตัวอย่างมีค่าความหนาแน่นรวมเท่ากับ 10.72 และมีอัตราการปลดปล่อยก๊าซ CO2 จากดินเท่ากับ 76.201 กรัม./ตร.ม./วัน และจากใบหูกวาง เป็น 0.068 กรัม./ตร.ม./วัน และจากการวิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนจากเศษซากใบหูกวางที่ผิวดิน ได้ค่าเป็น 0.274 %